|
| |
|
โครงสร้างข้อมูล
| |
|
โครงสร้างข้อมูล แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ (ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และไพบูลย์ เกียรติโกมล, 2545, หน้า 110)
| |
|
1 โครงสร้างเชิงกายภาพ (Physical Data Structure) หมายถึง วิธีการจัดเก็บข้อมูลในสื่อต่าง ๆ เช่น เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก ดิสก์เก็ต เป็นต้น
|
2 โครงสร้างเชิงตรรกะ (Logical Data Structure) หมายถึง การจัดเก็บข้อมูลและความสัมพันธ์ต่าง ๆ ของข้อมูลในระบบฐานข้อมูล
|
|
สำหรับโครงสร้างเชิงตรรกะ จะแสดงให้เข้าใจถึงการจัดระเบียบการทำงาน และการมีปฏิสัมพันธ์ภายในระบบฐานข้อมูล ซึ่งระดับโครงสร้างของข้อมูลที่เรานำไปใช้งานนั้น สามารถแบ่งได้ ดัง
|
บิต (Bit) เป็นโครงสร้างข้อมูลที่เล็กที่สุดที่เครื่องรู้จัก อยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้าประกอบด้วยเลข 0 กับ 1 ถ้าเป็นเลข 0 แสดงว่าไม่มีสัญญาณไฟฟ้า แต่ถ้าเป็นเลข 1 แสดงว่ามีสัญญาณไฟฟ้า
|
ไบต์ (Byte) คือ กลุ่มของบิตที่เป็นรหัสใช้แทนตัวอักษร 1 ตัว โดยปกติแล้ว 8 บิต คือ 1 ไบต์ หรือ 1 ตัวอักษร (Character) ดังนั้นตัวอักษร 1 ตัว อาจจะเรียกว่า 1 ไบต์ ก็ได้
|
เขตข้อมูล/ฟิลด์ (Field) คือ หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำตัวอักษรหลาย ๆ ตัวมารวมกัน เป็นคำที่มีความหมาย เช่น ฟิลด์ชื่อนักศึกษา ฟิลด์ตัวเลขเงินเดือน ฟิลด์รหัสประจำตัวพนักงาน ฟิลด์คะแนนแต่ละวิชา เป็นต้น
|
ระเบียน/เรคคอร์ด (Record) คือ รายการข้อมูลแต่ละรายการประกอบไปด้วยฟิลด์ต่าง ๆ มารวมกัน เช่น รายการข้อมูลของพนักงานแต่ละคน รายการของสินค้าแต่ละชิ้น รายการของนักศึกษาแต่ละคน เป็นต้น
|
แฟ้มข้อมูล/ ไฟล์ (File) คือ กลุ่มของรายการข้อมูลที่เหมือนกันมารวมกัน เช่น แฟ้มเก็บข้อมูลทะเบียนประวัตินักศึกษา แฟ้มเก็บข้อมูลรายชื่อสินค้า แฟ้มเก็บข้อมูลรายชื่อหนังสือในห้องสมุด แฟ้มเก็บข้อมูลประวัติพนักงานในบริษัท เป็นต้น
|
ฐานข้อมูล (Database) คือ หน่วยของข้อมูลที่มีการนำแฟ้มข้อมูลหลาย ๆ แฟ้มข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน เช่น ฐานข้อมูลในระบบทะเบียนนักศึกษา ประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลรายวิชา แฟ้มข้อมูลนักศึกษา แฟ้มข้อมูลการลงทะเบียน และแฟ้มข้อมูลผลการเรียน เป็นต้น
|
|
|
|
ภาพแสดงตัวอย่างแฟ้มข้อมูลพนักงาน
|
ตัวอย่างแฟ้มข้อมูลพนักงาน ประกอบไปด้วยฟิลด์รหัส ฟิลด์ชื่อ-นามสกุล ฟิลด์ตำแหน่งและฟิลด์เงินเดือน มีข้อมูลพนักงานจำนวน 5 ระเบียน
|
ข้อมูลจาก
http://www.thaiwbi.com/course/Intro_com/Intro_com/wbi1/hie/page44.htm
|
|
|
จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบแบชและแบบเรียลไทม
ประมวลผลข้อมูลแบบแบช (Batch Processing) คือการประมวลผลข้อมูลที่ได้ทำการเก็บรวบรวมไว้เป็นชุดข้อมูล แล้วจึงนำส่งข้อมูลเหล่านั้นไปทำการประมวลผลข้อมูลพร้อมกันทั้งหมด ทีเดียวซึ่งระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลเอาไว้เพื่อรอการประมวลผล อาจจะเป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือรายปี เป็นต้น เช่นการประมวลผลการเสียภาษีประจำปี การคิดดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคาร
ประมวลผลข้อมูลแบบเรียลไทม (Real - Time Processing) คือ การประมวลผลทันทีทุกครั้งที่มีการส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบ บางทีอาจจะเรียกว่า การประมวลผลแบบ Transaction Processing เช่น ระบบเงินฝาก - ถอนเงินด้วย ATM ของธนาคาร ระบบสำรองที่นั่งในเครื่องบิน ระบบการตัดยอดสินค้าคงคลังทุกครั้งที่มีการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น